หมวดหมู่: กสทช.

BNCTพ.อ.นท ศกลรตน


กสทช. คาดเปิดประมูลคลื่น 700 MHz ได้ในธ.ค.62 ก่อนเปิดใช้ปี 63

       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แถลงภายหลังการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้ขึ้นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ว่า กสทช. คาดว่าจะสรุปร่างประกาศฯ ให้มีผลบังคับใช้ได้ในเดือนเม.ย.62 จากนั้นจะใช้เวลาในการทำแผนความถี่โทรทัศน์ใหม่ รวมถึงการประเมินมูลค่าคลื่นและการทำแผนโครงข่าย ราว 8 เดือน และจะเปิดประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้ประมาณเดือนธันวาคม และใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน ในการชำระค่าประมูลคลื่น 20% ขั้นต่อไปจึงเป็นการปรับเปลี่ยนโครงข่ายประมาณ 10 เดือน ซึ่งผู้ชนะประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์จะเริ่มใช้คลื่นได้ในเดือนธ.ค.63

       "การประมูลถ้าเร็วกว่าเดือนธ.ค. 62 คงไม่มีประโยชน์ เพราะการปรับโครงข่ายยังไม่เรียบร้อย ประมูลเร็วไปผู้ประกอบการต้องจ่ายเงินเร็ว แต่ยังเอาคลื่นไปใช้ไม่ได้ ส่วนที่โอเปอเรเตอร์บางรายแสดงท่าทีในการประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์มา คิดว่าระยะเวลาจะช่วยแก้ไขปัญหา 5G เป็นเม็ดเงินเม็ดใหม่ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความจำเป็นของผู้ประกอบกิจการทุกราย"

      ด้านนายเขมทัต พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท (MCOT) กล่าวว่า การนำคลื่น 700 MHz กลับไปใช้งานให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เพราะนอกจากจะเป็นการเอาคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ไปสร้างความคุ้มค่า แล้วยังช่วยจำนวนโครงข่ายกับผู้ประกอบการเหมาะสม โดยหลังจากนี้คงจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการกับ กสทช. และหากกสทช.มีกรอบเวลาในการผ่อนคลายการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่เหมาะสม และกำหนดราคาค่าประมูลขั้นต่ำของคลื่น 700 MHz น่าจะทำให้คลื่นได้รับความสนใจ

 

กสทช. เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์เรียกคืนคลื่น 700 MHz ,คาดออกประกาศเชิญชวนประมูลคลื่นต้น เม.ย.หวังเปิดประมูลในเม.ย.62

     นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประชุมนัดพิเศษคณะกรรมการ กสทช.ในวันนี้ มีมติเห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz มาตรการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทน และหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 MHz นำมาประมูลและนำเงินรายได้ไปชดเชยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลโดยจะมีการนำร่างดังกล่าวขึ้นบนเว็บไซต์ในวันศุกร์ที่ 18 ม.ค.62

     ทั้งนี้ คณะกรรมการ กสทช.ยังให้นำหลักเกณฑ์ที่มีมติเห็นชอบดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ในประเด็นความชอบด้วยกฎหมายการกำหนดมาตรการเยียวยาว่าอยู่ในอำนาจ กสทช.ที่จะดำเนินการครบถ้วนหรือไม่, การกำหนดจำนวนใบอนุญาต คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล และราคาเริ่มต้นประมูล รวมถึงการให้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ และระยะเวลาดำเนินการของใบอนุญาตซึ่งจะสามารถนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นได้ในเดือนก.พ.62

       นอกจากนี้ ยังให้นำประเด็นมาตรการเยียวยาดังกล่าวส่งให้อนุที่ปรึกษากฎหมาย พิจารณาคู่ขนานกันไปด้วย ซึ่งหากความเห็นของอนุที่ปรึกษาออกมาอย่างไรก็ให้ส่งความเห็นดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเพื่อประกอบการพิจารณา เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือทีวีดิจิทัลเป็นไปอย่างรวดเร็ว

      พร้อมกันนี้ให้สำนักงาน กสทช. ไปรวบรวมผลความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวมายกร่างเป็นประกาศของ กสทช. เกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์การเยียวยา และการประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz และนำเสนอต่อที่ประชุม กสทช.ต่อไป โดยทั้งหมดนี้ได้ให้ทางสำนักงาน กสทช.มีการดำเนินงานเป็นเรื่องเร่งด่วน

       "ในขณะนี้ร่างหลักเกณฑ์การประมูลยังคงอยู่ในร่างเดิมอยู่ ซึ่งตอนแรกจะมีการแยก แต่ทางมติที่ประชุมเห็นว่าเมื่อมีการนำไปรับฟังเป็นหลักเกณฑ์แล้ว จะแยกหรือไม่แยกให้นำกลับมาที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง ถ้าไปยกร่างในการแยกออกไป จะทำให้การรับฟังความคิดเห็นช้าลงไป"นายฐากร กล่าว

               ปัจจุบันจำนวนคลื่นความถี่ 700 MHz ในขณะนี้ยังเป็นใบละ 35 MHz รวม 7 ใบอนุญาต ซึ่งร่างที่ทางสำนักงานกสทช.กำลังจะเสนอต่ออนุกรรมการโทรคมนาคมจะเป็น 9 ใบอนุญาต แต่ในหลักเกณฑ์นี้เป็น 7 ใบอนุญาต เมื่อมีการรับฟังอาจจะปรับเป็น 8 หรือ 9 ใบอนุญาต ก็จะต้องกลับเข้าคณะทำงานของ กสทช.อีกครั้งหนึ่ง

               นายฐากร กล่าวว่า สำหรับการกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz ในร่างประกาศนี้ยังไม่มีการกำหนดราคาไว้ ซึ่งต้องรอผลการรับฟังความคิดเห็น หากไม่เห็นด้วยทางสำนักงาน กสทช.และต้องการให้กำหนดราคาเริ่มต้น ก็จะนำร่างที่เกี่ยวข้องกลับมาให้คณะทำงานของ กสทช.เร่งรัดพิจารณาเพื่อความรวดเร็ว

     อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงาน กสทช. ต้องการที่จะดำเนินการทั้งเรื่องของการประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz และมาตรการเยียวยาให้แล้วเสร็จในเดือนเม.ย.นี้ โดยคาดจะประกาศเชิญชวนประมูลคลื่น 700 MHz ในต้นเดือนเม.ย.นี้ และจัดประมูลคลื่นดังกล่าวภายในเดือนเม.ย.62

     อินโฟเควสท์

 

ประมูลคลื่น 700 สิ้นปี 'นที'หนุน'ทรู'ยืดชำระค่าใบอนุญาต

       แนวหน้า : พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานอนุกรรมการเรียกคืนคลื่นความถี่ 700 MHz เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 ได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยเกี่ยวกับร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz มาตรการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทน และหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 700 MHz

       ทั้งนี้ จะนำร่างขึ้นประกาศในเว็บไซต์กสทช. ภายในวันที่ 18 มกราคม 2562 หรืออย่างช้าสุดภายในวันที่ 21 มกราคมนี้ ก่อนนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ คาดว่า ภายในเดือนเมษายน ประกาศจะผ่านลงราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้นต้องใช้เวลา 8 เดือน ในการเตรียมการต่างๆ โดยเรื่องแรกต้องได้ข้อสรุปเรื่องการประเมินมูลค่าคลื่น 700 MHz ,การทำแผนคลื่นความถี่ทีวีฉบับใหม่ และการทำแผนการปรับเปลี่ยนความถี่โครงข่ายทีวี ซึ่งแต่ละช่องต้องทำแผนค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอุปกรณ์จากคลื่น 700 MHz มาใช้คลื่น 470 MHz เพื่อดำเนินการ ตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้า งและนำ ค่าใช้จ่ายตามจริงมาเตรียมเสนอเบิกกับกสทช. ทั้งนี้จะดำเนินเรื่องต่างๆ ให้เสร็จสิ้นก่อนถึงจะจัดการประมูล คาดว่าจะประมูลในเดือน ธันวาคม 2562

       "ไม่มีความจำเป็นต้องรีบประมูลก่อนเพราะอย่างไรเสียผู้ชนะการประมูลก็ได้ใช้คลื่นในเดือนธันวาคม 2563 อยู่ดี การที่ต้องรีบประมูลและรีบจ่ายเงินจึงเป็นเรื่องที่ ไม่ได้ประโยชน์อะไร"พ.อ.นที กล่าว

      ส่วนกรณีที่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ออกแถลงการณ์ว่าไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz หาก กสทช.ไม่ขยายระยะเวลาการชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz นั้น พ.อ.นทีกล่าวว่า เข้าใจและเห็นด้วยมาตั้งแต่แรกแล้วว่า จำนวนเงิน ดังกล่าวเป็นมูลค่าที่สูงเกินไป หากรัฐบาลจะช่วยก็สามารถช่วยขยายเวลาได้ คิดว่าในแง่ของการบริหารจัดการสามารถทำได้ แต่ก็ต้องระวังไม่ให้รัฐเสียประโยชน์ด้วย

      ทั้งนี้ หลังจากประมูลเสร็จ กสทช.ต้องดำเนินการให้โครงข่ายเสนอแผนการปรับความถี่เพื่อให้กสทช.อนุมัติ จากนั้นผู้ชนะประมูลจึงจ่ายเงินค่าประมูลงวดแรก 20% ภายในไตรมาสแรกของปี 2563 เพื่อกสทช.จะได้นำเงินที่ได้จากการประมูลส่วนหนึ่งเข้า กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) และนำมาให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต่อไป

     "ตอนที่เราประมูลทีวีดิจิทัล เราก็ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างทุกวันนี้ สื่อออนไลน์ได้รับความนิยมมาก มาเร็ว และไม่มีต้นทุน ดังนั้น ทีวีดิจิทัลก็ไม่ควรมีต้นทุน เช่นกัน การช่วยเหลือทีวีดิจิทัลในร่างประกาศ เราช่วยระยะยาวเป็น 10 ปี หากไม่มีใครมาประมูลหรือประมูลไม่หมด กสทช.ก็จะจัดการประมูลต่อไปเรื่อยๆ และทยอยนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ จะไม่มีการนำเงินของกสทช.ออกไปให้เองก่อน แต่อย่างใด"พ.อ.นที กล่าว

      ขณะที่นายเขมทัตต์ พลเดช ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในฐานะ นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า ลึกๆ แล้ว ก็กังวลเหมือนกันว่าผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 700 MHz เพราะเข้าใจว่าการประมูลคลื่น 900 MHz ในครั้งที่ผ่านมาราคาประมูลสูงเกินจริง ในขณะที่ผู้ประกอบการต้องใช้เงินลงทุนโครงข่าย แต่การประมูลคลื่น 700 MHz ครั้งใหม่ก็มีข้อดีตรงที่มีการขยายงวดการชำระเงินที่ทำให้ผู้ชนะการประมูลได้ผ่อนคลายมากขึ้น

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!